5 วิธีแก้เมาค้างที่ทำแล้วได้ผลจริงมันช่วยไม่ได้จริงๆ ที่เช้าบางวัน เราตื่นมาพร้อมกับอาการเมาค้าง หรืออาการแฮงก์จากเมื่อคืน ที่ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงส่งเจ้านาย เพื่อนสนิท หรือปาร์ตี้วันเกิดใดๆ แต่ถ้าตื่นมาแล้วปวดหัว ตัวหนักอึ้ง อารมณ์ไม่สดใส คงไม่ดีต่อการทำงานระหว่างวันแน่ๆ ซึ่งอาการเมาค้างเกิดจากการที่ได้รับแอลกอฮอล์เข้าสู่ร่างกายมากเกินไป จากนั้นร่างกายแสดงปฏิกิริยาต่อต้านแอลกอฮอล์ในร่างกาย ซึ่งความรุนแรงของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปวดหัว ขาดน้ำ หงุดหงิด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ ดังนั้นควรรีบแก้ไขผ่าน 5 วิธีแก้อาการเมาค้างที่สามารถทำแล้วได้ผลดังต่อไปนี้
วิธีแก้อาการเมาค้าง
ดื่มกาแฟเอสเปรสโซ 1 ช็อต หรืออเมริกาโนร้อน 1 ถ้วย
กินไข่ต้ม น้ำส้มคั้น โปรตีนช่วยดักจับสารพิษ น้ำส้มช่วยแก้แฮงก์
ดื่มน้ำมะนาวผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว
ดื่มนมช็อกโกแลต
ดื่มน้ำเกลือแร่ ช่วยฟื้นฟูอาการขาดน้ำ
ดื่มแอลกอฮอล์อย่างไร ไม่ให้สุขภาพพัง หนุ่มสายดื่มต้องอ่าน !
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า ไม่ว่าจะดื่มอย่างไรก็ไม่เป็นผลดีต่อร่างกายอย่างแน่นอน เพราะแอลกอฮอล์นอกจากจะไม่ดีต่อร่างกายแล้วก็ยังทำให้ผู้ที่ดื่มขาดสติอีกด้วย แต่จริง ๆ แล้ว หากเรารู้จักการดื่มที่ถูกต้อง การดื่มเครื่องดื่มหรือของมึนเมาก็อาจไม่ใช่เรื่องที่ร้ายแรงอะไรมากมาย สุขภาพก็อาจไม่ได้พังอย่างที่คิดก็ได้ หากเรามีวิธีที่ดี
วิธีดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ให้สุขภาพพัง
หลัก ๆ เลย หากใครก็ตามที่ต้องการดื่มเหล้าหรือของมึนเมา แต่ยังต้องการสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและดีอยู่ เราก็มีเทคนิคการดื่มที่ถูกต้องมาฝากกัน รับรองว่าสุขภาพก็ยังเหมือนเดิม ไม่พังง่าย ๆ อย่างแน่นอน สายดื่มทั้งหลายจะต้องเข้ามาอ่านกันเลย
1.เลือกปริมาณในการดื่ม
หลัก ๆ เลย ไม่ว่าเราจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบไหน เราก็จะต้องเลือกปริมาณที่เหมาะสม โดยดูจาก ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ที่อยู่ข้างใน เช่น เบียร์จะต้องมาปริมาณอยู่ที่ 5% ไวน์ จะต้องอยู่ในปริมาณที่ 10 ดีกรี เหล้าจะต้องอยู่ที่ 35-40 ดีกรี เป็นต้น หากคุณดื่มแอลกอฮอล์ที่เกินขนาด ไม่นานร่างกายของคุณจะต้องพังอย่างแน่นอน
2.ดูจากปัจจัยในการดื่ม
เราดื่มเครื่องดื่มหรือของมึนเมาเหล่านี้เพื่ออะไร หากเป็นการดื่มในงานสังสรรค์ที่นาน ๆ ครั้ง ถือว่าร่างกายของเราอาจไม่ได้รับผลกระทบจากแอลกอฮอล์เท่าไหร่นัก แต่หากเป็นการดื่มอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ในปริมาณที่มากเกินที่ร่างกายจะรับไหว บอกเลยว่า อีกไม่นานสุขภาพของคุณก็จะพังอย่างแน่นอน
3.โรคประจำตัวที่มีผลต่อการดื่มแอลกอฮอล์
การมีโรคประจำตัวก็อาจทำให้ผู้ดื่มลดปริมาณในการดื่มลงได้ เพราะบางโรคก็ไม่สามารถดื่มแอลกอฮอล์ได้เลยก็มี เพื่อให้ร่างกายไม่เกิดผลข้างเคียง ถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เราจะเลือกดื่มหรือไม่ดื่มนั่นเอง
3.แบ่งตามเพศ
เพศชายมักจะดื่มหนักกว่าเพศหญิง ดังนั้นความเสี่ยงที่สุขภาพจะพังจากฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ในเพศชายถือว่าสูงกว่ามาก ๆ เลย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเพศหญิงจะดื่มไม่มากเท่าไหร่ แต่นี่คืออัตราส่วนใหญ่ที่เราคาดคะเน
ดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณเท่าไหร่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ
การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำถือว่าส่งผลเสียแล้ว แต่การดื่มในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นและติดต่อกันก็ถือว่าส่งผลเสียเช่นกัน นั่นก็คือ การดื่มวันละ 4-5 ดริ๊ง ติดต่อกัน 5 ปี ถือว่าเกินมาตรฐานที่ร่างกายมาก ๆ เลย แบบนี่ถือว่าอันตรายมาก ๆ เลย
การดื่มแอลกอฮอล์อาจไม่ใช่เรื่องดีเลย แต่หากเราเลี่ยงที่จะไม่ดื่มไม่ได้นั้น เราก็จะต้องมาดูว่า ปริมาณหรือความพอดีในการดื่มอยู่ตรงไหน เพราะสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญ เราสามารถดื่มได้ แต่ต้องไม่ทำร้ายร่างกายของเราเอง